จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

อันตรายของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ญี่ปุ่น

คง ไม่มีใครปฏิเสธคำพูดของผู้นำญี่ปุ่นที่ว่านี่เป็นยุคที่ยากลำบากที่สุดของ ญี่ปุ่นนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ 65 ปีที่แล้ว เพราะสึนามิครั้งนี้ไม่เพียงทำให้หลายเมืองญี่ปุ่นย่อยยับเท่านั้น แต่อันตรายจากกัมมันตรภาพรังสีของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่ระเบิดไปแล้วและ อาจจะระเบิดขึ้นอีกนั้น แม้จะมีความพยายามออกมาอธิบายว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่คงมีน้อยคนนักที่จะไม่ปริวิตกในขณะนี้

เตาปฏิกรณ์ของโรง ไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เมืองฟูกูชิมะใช้มานานถึง 40 ปีแล้ว โดยมีอยู่ทั้งสิ้น 6 เตาและเตาหมายเลขหนึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุด แต่ก็เป็นเตาปฏิกรณ์รุ่นราวคราวเดียวกับที่สหรัฐมีอยู่ประมาณ 100 เตาในขณะนี้ก่อนที่สหรัฐจะตัดสินใจไม่สร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่อีกเลย ตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

หลักการทำงานของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะใช้ ยูเรเนียม 235 เป็นเชื้อเพลิงภายในเตาปฏิกรณ์ ทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิชชั่นหรือการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอม เกิดพลังความร้อนมหาศาล ทำให้น้ำเดือดและเกิดไอน้ำไปหมุนใบพัดให้เกิดพลังไฟฟ้า

ขณะที่เกิด แผ่นดินไหว เตาปฏิกรณ์ 3 ตัวจากทั้งหมด 6 ตัวกำลังทำงานอยู่ แต่เตาปฏิกรณ์เหล่านี้ถูกออกแบบมาให้ปิดการทำงานโดยอัตโนมัติหากเกิดแผ่นดิน ไหว จากนั้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังดีเซลจะเริ่มทำหน้าที่ปั๊มน้ำเข้าไปบริเวณโดย รอบเตาปฏิกรณ์เพื่อหล่อเย็นไว้ แต่ปรากฏว่าทำงานได้เพียงชั่วโมงเดียวก็ล้มเหลวเนื่องจากสึนามิทำให้เกิดน้ำ ท่วมและเกิดความเสียหาย

ทางการญี่ปุ่นแถลงว่าการระเบิดที่เกิดขึ้น นั้นเกิดจากความล้มเหลวของระบบปั๊มน้ำ ไม่ใช่เตาปฏิกรณ์ สาเหตุที่ระเบิดอาจเป็นเพราะแรงดันที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆภายในฝาครอบชั้นใน เตาปฏิกรณ์ เมื่อไม่มีน้ำหล่อเย็น แรงดันจึงต้องหาช่องระบาย โลหะบางชิ้นที่อยู่รอบเชื้อเพลิงอาจปริออก เปิดช่องให้เชื้อเพลิงทำปฏิกิริยากับน้ำทำให้เกิดเซอร์โคเนียมอ็อกไซด์และ ไฮโดรเจนซึ่งเมื่อผสมกับอากาศที่มีอยู่ จึงทำให้เกิดระเบิดขึ้น

สำนัก นิวเคลียร์ของญี่ปุ่นแถลงว่ามีความเป็นไปได้สูงมากว่าการตรวจพบซีเซียมซึ่ง เป็นสารกัมมันตภาพรังสีที่โรงไฟฟ้าหลังการระเบิดอาจเกิดจากการละลายของแท่ง เชื้อเพลิงที่ร้อนเกินไปเพราะขาดน้ำหล่อเย็นนั่นเอง

โชค ยังดีที่ญี่ปุ่นมีการเตรียมพร้อมในการรับมือทั้งการอพยพประชาชนและให้ ประชาชนรับประทานเม็ดไอโอดีนเข้าไปก่อนเพื่อให้ต่อมไธรอยด์บล็อคไอโอดีนที่ มีกัมมันตภาพรังสีที่จะซึมเข้าสู่ร่างกาย ต่างจากกรณีของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลของยูเครนที่ระเบิดเมื่อ 25 ปีที่แล้วที่ไม่มีการเตรียมพร้อมแถมยังพยายามปกปิดข่าวด้วย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากกัมมันตภาพรังสีในเวลาต่อมานับพันคน ขณะที่กลุ่มกรีนพีซเชื่อว่าน่าจะไม่น้อยกว่า 93,000 คน แต่ความรุนแรงของการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีที่เชอร์โนบิลนั้นติดเพดาน สูงสุดคือระดับ 7 ส่วนที่เมืองฟูกูชิมะ ขณะนี้อยู่ที่ระดับ 4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น